หลักสูตร Doctor of Medicine

หลักสูตร

ชื่อเต็มหลักสูตร (ภาษาไทย)  :  แพทยศาสตรบัณฑิต

ชื่อย่อหลักสูตร (ภาษาไทย)  :  พ.บ. (แพทยศาสตรบัณฑิต)

ชื่อเต็มหลักสูตร (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Medicine

ชื่อย่อหลักสูตร (ภาษาอังกฤษ) :  M.D.

รูปแบบ : หลักสูตรปริญญาตรี 6 ปี

ภาษาที่ใช้ : ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

การรับเข้าศึกษา

1. ผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในประเทศไทย

 2. ผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์จากต่างประเทศ ที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองว่าเทียบเท่า และสามารถใช้ภาษาไทยได้ดี

 3. ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ

 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น

 เป็นหลักสูตรที่มีความร่วมมือกับโรงพยาบาลที่ใช้ในการศึกษาระดับคลินิก ซึ่งประกอบด้วย

 1. คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช วิทยาลัยแพทยศาสตร์ และสำนักวิชาแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ความร่วมมือในลักษณะจัดการสอนรายวิชาในหมวดวิชาเลือกเสรี

 2. โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน ความร่วมมือในลักษณะจัดการสอนรายวิชาในหมวดวิชาเฉพาะ

       2.1 โรงพยาบาลร่วมสอน จำนวนทั้งหมด 3 โรงพยาบาล ดังนี้

             2.1.1 โรงพยาบาลหลัก (Teaching hospital) ได้แก่ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดกลาง มีความสามารถในการรับผู้ป่วยในได้ 250 เตียง

             2.1.2 โรงพยาบาลสมทบ (Affiliated hospital) ได้แก่ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ มีความสามารถในการรับผู้ป่วยในได้ 875 เตียง, โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ เป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก มีความสามารถในการรับผู้ป่วยในได้ 110 เตียง โรงพยาบาลอื่น ๆ ในสังกัดของกรุงเทพมหานคร                                                     

             2.1.3 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน (Community hospital)

 – ศูนย์บริการสาธารณสุข 30 วัดเจ้าอาม

 – ศูนย์บริการสาธารณสุข 40 บางแค

 – ศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิศ

 – ศูนย์บริการสาธารณสุข 67 ทวีวัฒนา                            

ภายใต้ความร่วมมือ ในการผลิตและการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ กรุงเทพมหานครกระทรวงมหาดไทย และมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ภายใต้การกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข โดยในการดำเนินการหลักสูตรดังกล่าวทางคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีจะมีคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เป็นที่ปรึกษาและสถาบันพี่เลี้ยง

การจัดการเรียนการสอน

ชั้นปีที่ 1-3 จะเรียนรายวิชาระดับตรียมแพทย์และปรีคลินิก

(Pre-medicine and Pre-clinic)  ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

ชั้นปีที่ 4-6 จะเรียนรายวิชาระดับคลินิก (Clinic)  ณ โรงพยาบาลร่วมผลิตแพทย์

ลักษณะของสาขาวิชา 

สาขาวิชาแพทยศาสตร์เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวกับการนําความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศิลปศาสตร์มาใช้ในการบริบาลเวชกรรม ซึ่งครอบคลุมการดูแลรักษาสุขภาพของมนุษย์เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัย การบําบัดโรคและความเจ็บป่วย และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา

คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ 

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตแพทย์ที่มี มีคุณลักษณะ ดังนี้ 

1. มีคุณธรรม จริยธรรมและเจตคติอันดีงามต่อการประกอบวิชาชีพ และสังคม
2. มีความรู้ความสามารถ และทักษะพื้นฐานทางด้านพื้นฐานวิชาชีพเวชกรรม โดย สามารถให้บริการสุขภาพแบบองค์รวม ครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การปูองกัน โรค การตรวจวินิจฉัย การรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพของบุคคล ครอบครัวและ ชุมชน อย่างมืออาชีพโดยเฉพาะด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
3. มีความสามารถสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ หมายถึงความสามารถในการเลือกใช้การ ทดสอบทางห้องปฏิบัติการอย่างสมเหตุสมผล ซึ่งรวมถึงการระบุข้อบ่งชี้ การเตรียม ผู้ป่วย การจัดเก็บสิ่งส่งตรวจและการแปลผลการตรวจเพื่อการวินิจฉัยและการ ติดตามผลการรักษา
4. มีความสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและแก้ปัญหาด้านสุขภาพ ได้อย่างมีเหตุผลตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ครอบคลุมแง่มุมต่าง ๆ แบบองค์รวม
5. มีเจตคติที่ดีในการศึกษาต่อเนื่องตลอดเวลา ติดตามความก้าวหน้าของวิทยาการใหม่ๆ และสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมและถูกกาลเทศะ
6. มีทักษะในการสื่อสารระหว่างแพทย์ บุคลากรทางแพทย์ ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย ผู้อยู่ในวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลทั่วไป กับคนทุกกลุ่มอายุ ทั้งด้านการฟัง พูด เขียนท้ังภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และการทำงานเป็นทีม
7. มีความสามารถผสมผสานและประยุกต์ความรู้ความสามารถทางวิชาการแพทย์กับวิชาแขนงต่าง ๆ รวมถึงความรู้ทางวิทยาศาสตร์ระบบสุขภาพ ในการปฏิบัติงานและการ ให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชน มีมนุษยสัมพันธ์ดีและสามารถทำงานร่วมกับ บุคลากรสาขาวิชาชีพอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8. มีทัศนคติเชิงบวกรู้เท่าทันต่อบริบททางสังคมกฎระเบียบกฎหมายและนโยบาย สาธารณะต่าง ๆ ที่ควบคุมกากับการประกอบวิชาชีพเวชกรรมทั้งในปัจจุบันและที่จะมีขึ้นในอนาคต
9. มีความสามารถในการวิเคราะห์ผลการวิจัยและดาเนินงานวิจัยพื้นฐานได้อย่างถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัยที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
10. เป็นผู้ที่มีความสามารถในการเป็นผู้นำ และชี้นำสังคม

รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าไปศึกษาได้ที่ https://www.md-btu.com/